UTMIII เป็นทอร์คมิเตอร์ขนาดเล็กและน้ำหนักเบาซึ่งสัมฤทธิผลมีความไม่เป็นเชิงเส้นที่ 0.03% FS ความเร็วในการหมุนสูงสุดที่ 25,000 รอบต่อนาที และเซฟตี้โอเวอร์โหลดที่ 500%
มีการนำไปใช้ในงานต่างๆ เช่น แท่นทดสอบมอเตอร์ ระบบอัตโนมัติสำหรับการทดสอบเกี่ยวกับความรู้สึก เป็นต้น
ครั้งนี้ เราได้หาปริมาณผลกระทบที่เรเดียลโหลดและทรัทส์โหลดสำแดงต่อประสิทธิภาพความแม่นยํา
เรเดียล N และ ทรัทส์ N ของโหลดปลายเพลาที่ยินยอมได้ คือค่าที่รับประกันว่าผลกระทบของแรงบิดเอาท์พุทจะน้อยกว่า 0.03% เมื่อใช้กับโหลดเหล่านั้น
เมื่อใช้ทอร์คมิเตอร์ เพลาและเพลาอื่นจะต้องเชื่อมต่อกัน
อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่จะติดตั้งได้สมบูรณ์ทั้งในทางศูนย์กลางและทางขนาน การวางผิดแนวบนศูนย์กลางเพลา เช่น ความเยื้องศูนย์ มุมโก่งตัว ระยะสิ้นสุด และยังคงมีอยู่แน่นอน
อุปกรณ์ที่ดูดซับเรเดียลโหลดและทรัทส์โหลดที่เกิดจากการวางผิดแนวดังกล่าวคือตัวคัปปลิ้ง
แต่ถึงกระนั้นคัปปลิ้งก็ไม่สามารถดูดซับเรเดียลโหลดและทรัทส์โหลดได้อย่างสมบูรณ์เนื่องจากการวางผิดแนวของเพลา ทรัทส์โหลดและเรเดียลโหลดยังคงมีอยู่แม้ในเมนบอดี้ของทอร์คมิเตอร์
สำหรับแค๊ปขนาดเล็กของ UTMIII จะมีการติดตั้งเกจเพลาเดี่ยว ในขณะเดียวกันสำหรับแค๊ปขนาดกลางและขนาดใหญ่ ติดตั้งเกจแรงเฉือน
เกจทั้งสองตรวจจับความเครียดด้วยวีทสโตนบริดจ์
สมมติว่าเราเดินสายไฟวีทสโตนบริดจ์ในลักษณะดังต่อไปนี้ ความเครียดในการอัดถูกใช้ที่เกจ #1 และ #3 และความเครียดในการตึงถูกใช้ที่เกจ #2 และ #4 ในภาพประกอบด้านบน เมื่อใช้แรงบิดบิดทางขวา
การทำเช่นนี้จะทำงานราวกับว่าเอาท์พุทถูกยกเลิกเทียบกับสปริงของเพลา (เรเดียลโหลด) หรือการอัด/การตึง (ทรัทส์โหลด)
กล่าวโดยสรุป ในทางทฤษฎีเอาท์พุทจะไม่เปลี่ยนแปลงตามเรเดียลโหลดและทรัทส์โหลด
อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงผลกระทบที่เกิดจากเรเดียลโหลดและทรัทส์โหลดดังกล่าวยังคงหลงเหลืออยู่เนื่องจากการจับยึดที่ผิดพลาดทางตำแหน่งเล็กน้อยและการจับยึดที่วางผิดแนวมุมของ สเตรนเกจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง UTMIII ที่มีแค๊ปขนาดปานกลางถึงใหญ่ใช้เกจแรงเฉือน ซึ่งไวต่อมุมการติดตั้ง ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อเรเดียลโหลดและทรัทส์โหลด
สิ่งสำคัญสำหรับมาตรการรับมือคือความสมมาตรระหว่างมุมกับเพลาของสเตรนเกจและตำแหน่งของ สเตรนเกจ
หากสมมาตรได้สมบูรณ์ ผลกระทบจะถูกยกเลิกและจะไม่ปรากฏบนเอาท์พุท
ครั้งนี้ เราได้ปรับปรุงความแม่นยำทางตำแหน่งในมุมสำหรับสเตรนเกจในระดับใหญ่โดยใช้กระบวนการผลิตใหม่
ด้วยมาตรการนี้ ผลกระทบที่เรเดียลโหลดและทรัทส์โหลดส่งผลต่อความแม่นยำลดลงอย่างมาก
ภาพประกอบด้านล่างแสดงการเปรียบเทียบผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทอร์คมิเตอร์ที่ผลิตขึ้นด้วยกระบวนการแบบเดิมและกับกระบวนการแบบใหม่
ที่นี่ เรายึดปลายเพลาหนึ่งด้านของ UTMIII-2Nm เพื่อไม่ให้เพลาหมุน จากนั้น เราใช้เรเดียลโหลดขนาด 7N กับปลายอีกด้านของเพลาผ่านตลับลูกปืน
โหลดถูกใส่เข้าไปในตลับลูกปืนเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดแรงบิด
ด้วย UTMIII ที่ผลิตโดยกระบวนการทั่วไป ค่าเอาท์พุทจะเปลี่ยนสูงสุด 0.1% ในทางกลับกัน ด้วย UTMIII ที่ผลิตโดยกระบวนการใหม่ ค่าเอาท์พุทจะเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า 0.01%
สามารถทำการวัดแรงบิดที่มีความแม่นยำสูงได้อย่างมั่นใจเนื่องจากข้อกำหนดเฉพาะจะป้องกันความผันแปรของการรับน้ำหนักปลายเพลาที่ยินยอมได้
フォームが表示されるまでしばらくお待ち下さい。
恐れ入りますが、しばらくお待ちいただいてもフォームが表示されない場合は、こちらまでお問い合わせください。