เมื่อเวลาผ่านไป 7 ปีนับตั้งแต่มีการเปิดตัวสินค้า ยอดการจัดส่ง UTMII สะสมเกิน 30,000 เครื่อง
ในช่วงเวลานั้น เราได้รับคำร้องขอที่หลากหลายจากลูกค้าจำนวนมาก
เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการเหล่านั้น เราต้องเผชิญกับการตัดสินใจในการออกแบบฟังก์ชั่นทางพื้นฐานบางอย่างใหม่
ดังนั้นเราจึงตัดสินใจที่จะพัฒนา "UTMIII" ซึ่งตอบสนองต่อคำร้องขอเหล่านั้น
การปรับปรุงสำคัญที่ทำได้สำเร็จมีดังนี้:
เมื่อเราพัฒนา UTMII เราถือว่าความเร็วตอบสนองที่ 1kHz ก็เพียงพอแล้ว
อย่างไรก็ตาม คำร้องขอจากลูกค้าคือ 5kHz
ดังนั้นเราจึงเปลี่ยนความเร็วในการสุ่มตัวอย่างจาก 6kHz เป็น 20kHz จากนั้นจึงขยายแบนด์วิดท์อนาล็อกจาก 1kHz เป็น 5kHz
ช่วงแรงดันอินพุทของตัวแปลงอนาล็อกเป็นดิจิตอล สำหรับ PLC หลักๆ คือ 0~5V, 0~10V หรือ -10~+10V
ช่วงแรงดันอินพุทที่ ±10V เป็นทางเลือกเดียวเท่านั้น หากเราต้องเชื่อมต่อ UTMII กับ PLC เหล่านั้น
อย่างไรก็ตาม ความละเอียดจะเหลือเพียงครึ่งเดียว เนื่องจากช่วงสัญญาณเอาท์พุทของ UTMII อยู่ที่ ±5V เท่านั้น
ดังนั้นเราจึงเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าภายในและขยายช่วงเอาต์พุทเป็น ±10V
เอาต์พุทแบบอนาล็อกของ UTM ซีรีย์อาจเกินเอาต์พุทที่กำหนดเล็กน้อย อย่างไรก็ตามไม่รับประกัน เอาต์พุทที่เกินพิกัด
เพื่อให้สามารถสื่อสารแบบดิจิตอลกับพีซีและ PLC ภายนอกได้ จำนวนพินของคอนเน็กเตอร์จึงเปลี่ยนจาก 6 เป็น 12 เพื่อใช้กับการสื่อสารด้วยสัญญาณ RS-485
โดยการปรับปรุงนี้ UTMIII สามารถดึงค่าที่วัดได้โดยไม่ได้รับผลกระทบจากสัญญาณรบกวน
ด้วยการมีส่วนขยายของอินเตอเฟซแบบดิจิตอล จึงได้เพิ่มฟังก์ชั่นการปรับแก้ไขค่าซีโร่ซึ่งจะปรับค่าเอาต์พุทอนาล็อกและดิจิตอลเป็นศูนย์
ฟังก์ชั่นนี้สามารถใช้กับเครื่องทดสอบ ฯลฯ ได้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถตั้งค่าเป็นศูนย์ก่อนเริ่มการทดสอบ แล้วนำผลต่างมาเป็นค่าที่วัดได้
ขอบเขตการใช้งานได้ขยายกว้างขึ้นด้วยการปรับปรุงนี้
ด้วยส่วนขยายของการอินเทอร์เฟซแบบดิจิตอลทำให้ ความถี่คัทออฟของตัวกรองความถี่ต่ำผ่านภายในสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยสัญญาณจากภายนอก
ด้วยการกำจัดสัญญาณรบกวนความถี่สูงออกไป การเปลี่ยนแปลงสัญญาณที่จำเป็นสามารถวัดได้ด้วยความแม่นยำระดับสูง
คอนเน็กเตอร์บนตัว UTMII ทำมาจากเรซิน
ไม่มีปัญหาในเรื่องสัญญาณรบกวนสำหรับคอนเน็กเตอร์แบบเรซิน แต่คอนเน็กเตอร์ที่ทำจากโลหะคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
การเปลี่ยนชนิดคอนเน็กเตอร์จากแบบเรซินเป็นโลหะทำให้มีเกราะป้องกันของสายชิลดิ์ที่เชื่อมต่อกับตัวเมนบอดี้ของ UTMIII
จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ภูมิคุ้มกันสัญญาณรบกวนของ UTM ก็ดีขึ้นกว่าที่เคย
เมื่อวางหลายเครื่องในแนวเดียวกัน ความกว้างของตัวเมนบอดี้ถือเป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญ
ความกว้างของ UTMII คือ 40 มม. อย่างไรก็ตาม สายเคเบิลถูกวางไว้ที่ด้านข้างของตัวเมนบอดี้ ซึ่งทำให้ยากสำหรับการจัดวางให้หลายเครื่องชิดกันมากขึ้น
UTMIII ลดขนาดความกว้างลงเหลือ 32 มม. และยิ่งไปกว่านั้น สายเคเบิลยังถูกวางไว้ที่ด้านบนของตัวเมนบอดี้
จึงสามารถจัดวางให้หลายเครื่องอยู่ใกล้กันมากขึ้น
เรามักจะแนะนำไม่ให้ยึดตัวเมนบอดี้ของ UTM ซีรีย์เมื่อใช้งาน
เนื่องจากการปรับเปลี่ยนแกนจะง่ายมาก
อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี เช่น การเชื่อมต่อแกนของทอร์คมิเตอร์และแกนของชิ้นงาน หรือการใส่ทอร์คมิเตอร์ในตัวอุปกรณ์ ตัวทอร์คมิเตอร์สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการยึดตัวเมนบอดี้
นั่นเป็นเหตุผลที่เราสร้างตัวเลือกประเภทที่ตั้งจุดกึ่งกลาง ซึ่งขยายส่วนต่างๆ ของตลับลูกปืน
เนื่องจากศูนย์กลางของส่วนที่ขยายออกนั้นเกือบจะเหมือนกับศูนย์กลางของตลับลูกปืน แกนของ UTMIII สามารถจัดตำแหน่งได้โดยไม่คลาดเคลื่อนเมื่อทำการต่อเชื่อม
ตัวเลือกนี้ทำให้การติดตั้งกับอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติง่ายขึ้นมาก
UTMIII เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ท้าทายที่สุดสำหรับเราซึ่งมีการปรับปรุงหลายอย่าง: ความเร็วในการตอบสนองเป็น 5 เท่า, การขยายช่วงแรงดันเอาต์พุทเป็น 2 เท่า, เพิ่มเติมด้วยเอาต์พุทดิจิตอลจากภายนอกและการลดขนาดของตัวเมนบอดี้
นอกจากนี้ ตัวแสดงผลแรงบิดเฉพาะยังได้รับการอัพเกรดจากรุ่น TM301 เป็น TM320
ความเร็วในการสุ่มตัวอย่างได้รับการปรับปรุงจาก 300Hz เป็น 16kHz
ความเร็วในการตรวจจับจุดสูงสุดในรูปกราฟได้รับการปรับปรุงในขอบเขตขนาดใหญ่
ยิ่งไปกว่านั้น ตัวเครื่องแสดงผลแรงบิดอีกรุ่นหนึ่ง TM380 ที่เข้ากันได้กับตัวเลือกแบบโรตารี่เอ็นโค้ดเดอร์ก็ได้รับการอัพเกรดด้วยเช่นกัน ด้วยความเร็วในการสุ่มตัวอย่างที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็น 16kHz การตรวจจับความเร็วของมุมการหมุนเทียบกับรูปกราฟจึงทำได้ดีขึ้น
นอกจากนี้ ตัวแปลงแรงบิด TC80 ซีรีย์ ซึ่งสามารถอ่านค่าแรงบิด ความเร็วการหมุน และมุมของการหมุน (เข้ากันได้กับตัวเลือกแบบโรตารี่เอ็นโค้ดเดอร์) ผ่านอินเตอเฟซต่างๆ เช่น CC-Link, เอาต์พุทแบบอนาล็อก 3ch และ Ethernet/IP ที่เพิ่งเปิดตัว
ในฐานะผู้นำในการผลิตการวัดแรงบิด UNIPULSE จะยังคงรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้และตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของการวัดแรงบิด
フォームが表示されるまでしばらくお待ち下さい。
恐れ入りますが、しばらくお待ちいただいてもフォームが表示されない場合は、こちらまでお問い合わせください。